Popular Posts
-
คณะผู้จัดทำ จัดทำโดย นางสาวมณีรัตน์ ขวานหลาย เลขที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวสุนิสา จิวสือพงศ์ เลข...
-
การบรรยายผลงานทัศนศิลป์
Blogger templates
Blogger news
Blogroll
About
แหล่งข้อมูลสารสนเทศบน อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และ ใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที และมีข้อมูลหลากหลายประเภท ดังนั้นในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก จึงได้มีการจัดทำเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมา
SearchinginFormation. ขับเคลื่อนโดย Blogger.
About Me
Formulir Kontak
Followers
statistics
Link list
หน้าเว็บ
Blogger templates
Blogroll
Pages - Menu
Paling Dilihat
-
คณะผู้จัดทำ จัดทำโดย นางสาวมณีรัตน์ ขวานหลาย เลขที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวสุนิสา จิวสือพงศ์ เลข...
-
การบรรยายผลงานทัศนศิลป์
เทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การเตรียมตัวก่อนการค้นหา
1. ผู้ค้น จะ ต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด และต้องมีข้อมูลประกอบในการค้นหา เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์ หากไม่รู้ชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์ ควรกำหนดคำค้นหรือหัวเรื่อง ที่จะใช้สำหรับการค้นหา เป็นต้น
2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่ จะใช้ค้นหา เช่น ถ้าต้องการค้นหาทรัพยากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งต้องการหาตัวเล่มในห้องสมุด ควรจะใช้ฐานข้อมูล OPAC เป็นต้น
3. ต้องรู้จักวิธีการใช้ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น
4. ต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุดและการหาหนังสือบนชั้น ผู้ค้นต้องรู้วิธีการใช้ห้องสมุด และวิธีการหาหนังสือบนชั้น
5. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐาน ข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการบางส่วนที่ยังใช้ห้องสมุดไม่เป็น ไม่รู้จักระเบียบฯ ตลอดจนมีการละเลิดลิขสิทธิ์ในการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น
เทคนิคการสืบค้นข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้
1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search)
เป็น การค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author)
เป็น การค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
1.1.1 ผู้แต่งคนไทย
เป็น การค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
ยกตัวอย่างเช่น
- นางกุลธิดา ท้วมสุข ชื่อที่ใช้ค้นคือ
กุลธิดา ท้วมสุข (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)
1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ
ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น
ยกตัวอย่างเช่น
"Judith G. Voet" ชื่อที่ใช้ค้นคือ Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet
1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร
ให้ ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
ยกตัวอย่างเช่น
- สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
1.2 ชื่อเรื่อง (Title)
เป็น การค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง เพลงรักในสายลมหนาว, เรื่อง อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น, และเรื่อง Engineering Analysis
1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading)
คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศ หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น โดยปกติแล้ว จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้ บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ
1.4 คำสำคัญ (Keywords)
คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
ยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม
2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search)
เป็น การค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหา หรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
2.1การ สืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
- AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
- OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้
- NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ เฉพาะที่เป็นอาหาร ไม่เอาเพลงส้มตำ เป็นต้น
เทคนิคการค้นหา พร้อมรูปแบบตัวอย่างการค้นหาร Library Catalog จาก WEB OPAC
1. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ มีดังนี้
- ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง หมายถึง ค้นหาจากชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้แต่งหรือผลิตสิ่งพิมพ์
ยกตัวอย่าง เช่น
ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น
"Judith G. Voet" ต้องพิมพ์คำค้นเป็น "Voet, Judith G." หรือ "Voet, Judith" หรือ "Voet"
ชื่อคนไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น
"ณัฐ ภมรประวัติ (Natth Bhamarapravati)" ต้องพิมพ์คำค้น "ณัฐ" สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น "Natth" สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ
- ค้นหาจากชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของสิ่งพิมพ ์ ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ยกตัวอย่าง เช่น แดจังกึม หรือ Lover in paris เป็นต้น
- ค้นหาจากชื่อวารสาร หมายถึง ชื่อของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science
- ค้นหาจากหัวเรื่อง หมายถึง คำ วลีที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ หรืออาจจะเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุด - การบริหาร หรือ Library - administrative
- ค้นหาจากคำสำคัญ หมายถึง คำวลี ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งหากค้นด้วยคำสำคัญ ระบบจะทำการค้นหาคำ ที่อยู่ในชื่อเรื่อง
ยกตัวอย่าง เช่น การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy
- ค้นหาด้วย เลขหมู่ระบบ LC หมายถึง การค้นหาด้วยเลขหมู่ ในระบบรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)
ยกตัวอย่าง เช่น TA345 I44
- ค้นหาจากเลขหมู่ระบบอื่น หมายถึง การค้นหาด้วยเลขหมู่นอกเหนือจาก LC, NLM ซึ่งห้องสมุดได้กำหนดเลขหมู่ดังกล่าว ขึ้นมาใช้เอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) , Project Report
ยกตัวอย่าง เช่น มอก. 464 2526 หรือ Pro.re.TE/Bi W253 2004
2. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นบทความวารสารไทย มีดังนี้
- ค้นหาจากชื่อผู้แต่งหมายถึง ค้นหาจากชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้เขียนบทความ
ยกตัวอย่าง เช่น
ชื่อคน ไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น "กุลธิดา ท้วมสุข" ต้องพิมพ์คำค้น "กุลธิดา" สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น "Kultida" สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ
ชื่อผู้ แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น "Douglas R. Smucker" ต้องพิมพ์คำค้นเป็น "Smucker, Douglas R." หรือ "Smock, William" หรือ "Smock"
- ค้นหาจากชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของบทความ ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุดมีชีวิต หรือ Netlibrary ebooks
- ค้นหาจากชื่อวารสาร หมายถึง ชื่อของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ผลการค้นที่ได้จะเป็นรายการดัชนีของบทความที่ตีพิมพ์ในชื่อวารสารที่ค้นหา
ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science
- ค้นหาจากหัวเรื่อง หมายถึง คำ วลีที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ หรืออาจจะเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
ยกตัวอย่าง เช่น ต่อมน้ำเหลือง, โรค--การวินิจฉัย
- ค้นหาจากคำสำคัญ หมายถึง คำวลี ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งหากค้นด้วยคำสำคัญ ระบบจะทำการค้นหาคำ ที่อยู่ในชื่อเรื่อง
ยกตัวอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันเสื่อม
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของเอกสารที่ค้นจากเว็บไซต์
ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับวัสดุสารนิเทศประเภทต่างๆเช่นชื่อผู้แต่งชื่อเรื่องปีที่พิมพ์ดังนั้นการเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมของข้อมูลที่ค้นได้จากเว็บไซต์จึงใช้รูปแบบเดียวกับการเขียนรายละเอียดของบรรณานุกรมของเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์โดยทั่วไปเช่นกรณีของหนังสือข้อมูลรายละเอียดทางบรรณานุกรมจะประกอบไปด้วยชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์ชื่อเรื่องและสถานที่พิมพ์นอกจากนี้อาจเพิ่มข้อมูลบางส่วนที่ช่วยในการสืบค้นอีกด้วย คือ วันที่สืบค้น และ URL โดยภาษาไทยใช้ว่า “สืบค้นเมื่อ........จาก...............” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Retrieved……form………..”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น