Popular Posts
-
คณะผู้จัดทำ จัดทำโดย นางสาวมณีรัตน์ ขวานหลาย เลขที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวสุนิสา จิวสือพงศ์ เลข...
-
การบรรยายผลงานทัศนศิลป์
Blogger templates
Blogger news
Blogroll
About
แหล่งข้อมูลสารสนเทศบน อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และ ใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที และมีข้อมูลหลากหลายประเภท ดังนั้นในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก จึงได้มีการจัดทำเครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมา
SearchinginFormation. ขับเคลื่อนโดย Blogger.
About Me
Formulir Kontak
Followers
statistics
Link list
หน้าเว็บ
Blogger templates
Blogroll
Pages - Menu
Paling Dilihat
-
คณะผู้จัดทำ จัดทำโดย นางสาวมณีรัตน์ ขวานหลาย เลขที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 นางสาวสุนิสา จิวสือพงศ์ เลข...
-
การบรรยายผลงานทัศนศิลป์
เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
การเตรียมตัวก่อนการค้นหา
1.ผู้ค้น จะต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดและต้องมีข้อมูลประกอบในการค้นหา เช่น ชื่อผู้แต่ง เป็นต้น
2.รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา เช่นถ้าต้องการค้นหาทรัพยากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้ฐานข้อมูล OPAC เป็นต้น
3.ต้องรู้จักวิธีการใช้ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่นรู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วยนอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์การส่งข้อมูทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรมเป็นต้น
4.ต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุดและการหาหนังสือบนชั้น
5.รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา
เทคนิคการสืบค้นข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้
1.การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) ใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author)
เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล
กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ
บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ
ดังนี้
กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ
บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ
ดังนี้
1.1.1 ผู้แต่งคนไทย
เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น
กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว
หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ
และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา
ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว
หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ
และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา
ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ
ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล
ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น
ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น
ยกตัวอย่างเช่น
“Judith
G. Voet” ชื่อที่ใช้ค้น คือ Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet
G. Voet” ชื่อที่ใช้ค้น คือ Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet
1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร
ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น
เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย
ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ
เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย
ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ
เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
ยกตัวอย่างเช่น
– สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
– ททท. ชื่อที่ใช้ค้น คือ
การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
1.2ชื่อเรื่อง (Title)
เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง
เช่น ชื่อหนังสือ หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย
เช่น ชื่อหนังสือ หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง
เพลงรักในสายลมหนาว, เรื่อง
อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น, และเรื่อง Engineering
Analysis
เพลงรักในสายลมหนาว, เรื่อง
อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น, และเรื่อง Engineering
Analysis
1.3หัวเรื่อง (Subject Heading)
คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา
เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศ
หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น
เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศ
หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น
1.4คำสำคัญ (Keywords)
คือ
การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา
โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย
เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา
โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย
เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
2.การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search)
เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน
ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น
เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น
เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
2.1การสืบค้นข้อมูล
โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้
Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND,
OR, NOT ดังนี้
โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้
Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND,
OR, NOT ดังนี้
– AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า
สัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ ANDอาหาร
หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
สัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ ANDอาหาร
หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
– OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า
หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้
หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้
– NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ ANDอาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า
ส้มตำ เฉพาะที่เป็นอาหาร ไม่เอาเพลงส้มตำ เป็นต้น
ส้มตำ เฉพาะที่เป็นอาหาร ไม่เอาเพลงส้มตำ เป็นต้น
การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
1. เว็บไซต์ (Website) : ที่ ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหา ข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น
ๆ หรือสามารถค้นหา
ๆ หรือสามารถค้นหา
1.1 การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก (keyword) ให้ได้ก่อน
1.2การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้ อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ : ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทาง อินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสะดวก รวดเร็ว
โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง
หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์
เป็นต้น
ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน เช่น
ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่
เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง คือ
สุนทรภู่ และระบุหัวข้อเรื่อง คือ
นิราศ ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
3. ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูล :แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน
หรือล้านรายการ
ออนไลน์ (online) เป็นคำทับศัพท์ : การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ ดังนี้
1. ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3คำ คือ “ และ หรือ ไม่ ”
2. ใช้สัญลักษณ์ หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
เครื่องหมายคำถาม “?”
เครื่องหมายดอกจัน “*”
3. ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า NEAR สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย
การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรม
การเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตมีหลักการเช่นเดียวกับการเขียน รายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งข้อมูลประเภทอื่น ๆคือ ต้องให้รายละเอียดที่ทำให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลนั้น ๆ ได้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมสำหรับแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตสามประเภทใหญ่ ได้แก่
1.หนังสือ
2.เอกสาร และบทความ
3.ข้อความที่ประกาศ (post) และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
การเขียนบรรณานุกรมข้อความที่ประกาศบนอินเทอร์เน็ต หมายถึงข้อความที่นำเสนอเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเว็บฟอรัม (web forum) ข้อความที่นำเสนอในลิสต์เซิร์ฟ (Listserv)และกลุ่มข่าว (Newsgroup) ต่าง ๆรายละเอียดที่ควรระบุ ได้แก่ ชื่อผู้ประกาศ วันเดือนปีที่ประกาศ หัวเรื่อง(ดูตามที่ปรากฏในบรรทัดหัวข้อ subject) และยูอาร์แอล(ยกเว้นสำหรับ ข้อความในกลุ่มข่าว ให้ระบุชื่อกลุ่มข่าวแทน) โดยในแบบเอพีเอ และแบบเอ็มแอลเอ กำหนดให้มีข้อความที่บ่งว่าเป็นข้อความ ที่ประกาศ และในแบบเอ็มแอลเอและ แบบชิคาโก กำหนดให้ระบุวันที่ที่สืบค้น
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม
ข้อความ
: การจัดเรียงบรรณานุกรม
: การจัดเรียงบรรณานุกรม
หนังสือ
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่องหนา.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.
วารสาร
ชื่อ/ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหนา.//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้าที่อ้าง.
ชื่อบทความ.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อวารสารหนา.//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้าที่อ้าง.
หนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียน.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความหรือชื่อคอลัมน์.//ชื่อนสพหนา.//หน้าที่ตีพิมพ์.
เว็บไซต์
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์,/วันเดือนของวารสารหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหนา.//(คำบอกแหล่งข้อมูลอิเลกทรอนิกส์).
//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้า.//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.
หัวข้อย่อยในเว็บไซต์หนา. (ปีที่สืบค้น).//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.
//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้า.//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.
หัวข้อย่อยในเว็บไซต์หนา. (ปีที่สืบค้น).//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.
เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. (2543).รายงานผลการวิจัยเรื่องการออกเสียงคำไทย(หนา). (ออนไลน์). แหล่งที่มา:http:…….html. วันที่สืบค้น 25 กรกฎาคม 2547.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น